ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา
ที่เราพูดรู้เรื่องเพราะเราเข้าใจโครงสร้างของภาษา
โครงสร้างจะเป็นตัวบอกว่าเราจะนำคำศัพท์คำไหนมาเรียงกันจึงจะทำให้เข้าใจกัน
ซึ่งปัญหาที่พบกันคือ
ปัญหาทางโครงสร้าง
เป็นปัญหาสำหรับนักแปลอย่างยิ่ง
เพราะถึงแม้รู้ความหมายของคำศัพท์แต่ไม่รู้โรงสร้างทางภาษาก็จะไม่สามารถแปลได้หรือแปลได้ความไม่สมบูรณ์ตามต้นฉบับ
1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ
เป็นสิ่งที่สำคัญในโครงสร้างเพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาร้อยเรียงกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
ประเภททางไวยากรณ์
หมายถึงลักษณะที่สำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง
ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ
เช่น
บุรุษ
กาล
พจน์
ลิงค์
ซึ่งประเภททางไวยากรณ์บางประเภทอาจสำคัญกับภาษาหนึ่งแต่ไม่สำคัญกับอีกภาษาหนึ่ง
คำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษมีลักษณะทางไวยากรณ์หรือตัวบ่งชี้ที่ต่างกัน
ได้แก่
บุรุษ
พจน์
การก
ความชี้เฉพาะและการนับได้
1.1.1 บุรุษ(person) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึง
ผู้พูดผู้ฟังและผู้ที่ถูกกล่าวถึง
-
ภาษาอังกฤษแยกสรรพนามตามบุรุษอย่างชัดเจน
-
ภาษาไทยแยกได้ไม่ชัดเจนเพราะบางคำใช้ได้หลายบุรุษ
1.1.2 พจน์(number) เป็นตัวบ่งบอกจำนวนว่ามีจำนวนเท่าไร
-
ภาษาอังกฤษมีการแบ่งพจน์โดยใช้ตัวกำหนด
a/an
-
ภาษาไทยไม่มีการแยกสรรพสิ่งตามจำนวน
1.1.3 การก(case) เป็นตัวบ่งชี้คำนามนั้นๆว่ามีบทบาทอะไร
-
ภาษาอังกฤษ
การกของคำนามมักแสดงด้วยการเรียงคำ
-
ภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำเพื่อแสดงการก
แต่มีการเรียงคำที่ต่างจากภาษาอังกฤษ
1.1.4 นามนับได้กับนามนับไม่ได้
(countable
and uncountable nouns)
คำนามในภาษาอังกฤษที่ต่างจากภาษาไทยคือ
การแบ่งเป็น
นามนับได้และนับไม่ได้
-
ภาษาอังกฤษแยกความแตกต่างระหว่างคำนามได้
-
ภาษาไทย
คำนามทุกคำนับได้
1.1.4 ความชี้เฉพาะ
(definiteness) คือ การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ
-
ผู้พูดภาษาอังกฤษต้องหัดแยกแยะตั้งแต่เริ่มพูด
-
ผู้พูดภาษาไทยไม่มีการแยกความแตกต่าง
1.2
คำกริยา
คำกริยาเป็นหัวใจของประโยค
การใช้กริยาซับซ้อนกว่าการใช้คำนาม
เพราะมีประเภททางไวยากรณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
เช่น
กาล
การณ์ลักษณะ
มาลา
วาจก
และความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาที่ไม่แท้
1.2.1 กาล(
tense
)
-
คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอ
ทั้งอดีตและปัจจุปัน
-
ภาษาไทยไม่ถือว่ากาลเป็นเรื่องสำคัญ
เมื่อแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษคนไทยต้องระวังเรื่องกาลเป็นพิเศษ
1.2.2 การณ์ลักษณะ(aspect) คือลักษณะของเหตุการณ์หรือการกระทำ
-
ในภาษาอังกฤษ
การณ์ที่สำคัญได้แก่
การณ์ลักษณะต่อเนื่อง
หรือการณ์ลักษณะดำเนินอยู่และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้น
คนไทยจะเข้าใจง่ายเพราะมีเช่นเดียวกัน
-
ในภาษาไทยจะมีคำว่า
กำลัง
อยู่
แล้ว
ในการแสดงการณ์ลักษณะนี้
1.2.3 มาลา(mood) คือประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับกริยาเพื่อแสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์อย่างไร
-
มาลาในภาษาอังกฤษแสดงด้วยการเปลี่ยนรูปคำกริยาหรืออาจแสดงโดยคำกริยาช่วย
-
มาลาในภาษาไทย
มาลาแสดงโดยกริยาช่วยหรือคำวิเศษณ์เท่านั้น
1.2.4 วาจก(voice) เป็นตัวบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา
-
ในภาษาอังกฤษ
ประโยคส่วนใหญ่จะมีกริยาเป็นกรรตุวาจก
-
ในภาษาไทย
คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเองเพท่อแสดงกรรตุวาจกหรือกรรมวาจก
1.2.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้
(finite
vs. non-finite)
-
ภาษาอังกฤษมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น
-
ภาษาไทย
ไม่มีความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้
คือกริยาทุกตัวไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน
1.3
ชนิดของคำประเภทอื่นๆ
คำที่เป็นปัญหามากที่สุด
คือ
คำบุพบท
ซึ่งจำเป็นต้องสังเกตเพราะมีการใช้ที่ต่างกัน
-
คำบุพบทในภาษาอังกฤษสามารถห้อยท้ายวลีหรือประโยคได้แต่ภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้
เช่นเดียวกับคำ
adjective
ที่ไม่มีโครงสร้างในภาษาไทยเพราะใช้คำกริยาทั้งหมดและคำลงท้ายที่มีเฉพาะในภาษาไทย
2.หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.1 หน่วยสร้างนามวลี:
ตัวกำหนด
(Determiner) + นาม
(อังกฤษ) Vs.
นาม
(ไทย)
- นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอถ้าคำนามนั้นๆเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์
- นามวลีในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนดแบบภาษาอังกฤษแต่มีตัวบ่งชี้
เช่น
โน้น
นี้
นั้น
2.2 หน่วยสร้างนามวลี:
ส่วนขยาย
+
ส่วนหลัก
(อังกฤษ) Vs.
ส่วนหลัก
+
ส่วนขยาย
(ไทย)
- ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก
- ภาษาไทยวางส่วยขยายไว้หลังส่วนหลัก
2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก
(passive
constructions)
- ภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบที่เด่นชัดและมีแบบเดียว
- ภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ
กริยาที่เกี่ยวกับอารมณ์
ความรู้สึก
ภาษาไทยมักเป็นกรรตุวาจก
เช่นสนใจ
ตื่นเต้น
ส่วนในภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น