วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

หลักการแปลวรรณกรรม

หลักการแปลวรรณกรรม

                วรรณกรรม หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าจะใช้ร้อยแก้วหรือร้อยกรอง ตามปกติวรรณกรรมถูกจัดไว้ในงานประเภท บันเทิงคดี
                งานบันเทิงคดีที่จะนำมากล่าวถึงนี้คือ งานแปลนวนิยาย เรื่องสั้น นิทาน นิยาย บทละคร การ์ตูน บทภาพยนตร์ บทเพลง เป็นวรรณกรรมที่ผู้อ่านมุ่งหวังที่จะได้รับความบันเทิงเพลิดเพลินเป็นใหญ่
                หลักการแปลนวนิยาย
                นวนิยายแปลเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทุกประเทศและทุกกาลสมัย ผู้แปลมีความสำคัญเกือบจะเท่าผู้แต่ง ในบางครั้งมีความสำคัญยิ่งกว่าผู้แต่ง
                1.การแปลชื่อเรื่องวรรณกรรม          ชื่อของหนังสือหรือภาพยนตร์มีความสำคัญเป็นอันดับแรกซึ่งการแปลชื่อเรื่องมีความสำคัญเทียบเท่าใบหน้าของคนเราซึ่งจะต้องความพิถีพิถันในการแปล โดยทั่วไปมีหลักการอยู่ 4 แบบดังนี้
                                1.1 ไม่แปล ใช้วิธีการถอดเสียงหรือถ่ายทอดตามตัวอักษร
                                1.2 แปลตามตัว ถ้าชื่อมีความสมบูรณ์ครบถ้วนก็จะใช้วิธีการแปลตรงตัวโดนรักษาคำและความหมาย           ไว้ด้วยภาษาที่ดีและกะทัดรัด
                                1.3 แปลบางส่วนแปลงบางส่วน ใช้เมื่อชื่อในต้นฉบับห้วนเกินไปไม่ดึงดูดและสื่อความหมายไม่ เพียงพอ
                                1.4 ตั้งชื่อใหม่โดยการตีความชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง จะต้องวิเคาระห์เนื้อหาและเนื้อเรื่องจนจับประเด็น       สำคัญ ลักษณะเด่นของเรื่อง

                2.การแปลบทสนทนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากในการแปลวรรณกรรมเพราะมีภาษาหลายระดับที่เต็มไปด้วยคำสแลง คำสบถ คำย่อ คำตัด หากผู้แปลไม่คุนก็จะทำให้แปลได้ผิดพลาด
                3.การแปลบทบรรยาย เป็นข้อความที่เขียนเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ซึ่งมักจะใช้ภาษาเขียนที่ขัดเกลาและแตกต่างกันหลายระดับก่อให้เกิดความยุ่งยากขึ้นอีกระดับ
                                ก. ภาษาในสังคม ภาษาในสังคมมีหลายระดับชั้น และการใช้ภาษามีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะภาษาถิ่นที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการแปลทั้งเรื่องเสียง การใช้คำ ความหมายของคำ การเรียงคำ
                                ข. ภาษาวรรณคดี ภาษาระดับนี้ต้องคำนึงถึง ลีลาของการเขียน ที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้เขียน



                ขั้นตอนในการแปลวรรณกรรม
                1.อ่านเรื่องราวให้เข้าใจโดยตลอด สามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่จะแปลได้ ย่อความเนื้อเรื่องได้ จับประเด็นของเรื่อง ทำแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครสำคัญในเรื่อง
                2.วิเคาระห์ถ้อยคำสำนวน ค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ไม่รู้จัก ค้นหาความกระจ่างของข้อความที่ไม่เข้าใจ ค้นหาความกระจ่างทางวัฒนธรรม
                3.ลงมือแปลเป็นภาษาไทยด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบง่าย อ่านเข้าใจง่ายและชัดเจน

หลักการแปลบทละคร
                บทละครคือวรรณกรรมการแสดง ในที่นี้จะเป็นการแปลละครโศก ละครชวนขัน ละครโอเปร่าหรืออุปรากรและบทละครสำหรับละครเวทีซึ่งมีวิธีการแปลคล้ายกับการแปลเรื่องสั้น นวนิยายคือเริ่มด้วยการอ่านต้นฉบับเพื่อทำความเข้าใจให้ตลอดตั้งแต่ต้นจนจบก่อน หาความหมายและคำแปลแล้วจึงเขียนบทแปลด้วยภาษาที่เหมาะสม

หลักการแปลภาพยนตร์
                บทภาพยนตร์มีลักษณะเหมือนบทละคร คือประกอบด้วยคำสนทนาเป็นส่วนใหญ่แต่ผู้แสดงภาพยนตร์มีคนแสดงมากกว่าแต่ละคนจะใช้คำพูดต่างกันตามอุปนิสัย ใจคอและพูดจารวดเร็วต่างจากผู้แสดงละครซึ่งจะพูดช้าและเน้นย้ำให้ชัดเจน
                วิธีแปลบทภาพยนตร์ มีขั้นตอนดำเนินการเช่นเดียวกับการแปลบทละคร การ์ตูนซึ่งต้องอ่านทั้งข้อความ ภาพและฉากพร้อมๆกันโดยสัมพันธภาพต่อกัน ซึ่งจุดประสงค์หลักของบทละครภาพยนตร์แปลมี 2 ประการ คือ
                1.นำบทแปลไปพากย์หรืออัดเสียงในฟิล์ม ผู้ฟังจะได้ยินนักแสดงพูดภาษาไทย
                2.นำบทแปลไปเขียนคำบรรยายในฟิล์มดั้งเดิม ผู้ฟังจะได้ยินเสียงเดิมของนักแสดงและได้เห็นคำแปลพร้อมกัน

หลักการแปลนิทาน นิยาย
                บันเทิงคดีประเภทนิทาน นิยาย เรื่องเล่าเป็นสิ่งที่มีมาแต่โบราณสมัยที่ยังไม่ใช้ตัวอักษรในการสื่อสารกัน เป็นการเล่าแบบปากต่อปากหรือที่เรียกว่า มุขปาฐะ โดยส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ศาสนา เพื่อความสนุกสนาม เพลิดเพลิน ตามหลักวรรณคดีสากล มีชื่อต่างๆเรียกวรรณกรรมประเภทนิทาน นิยาย เรื่องเล่า ดังนี้
                Tale หมายถึงเรื่องเล่าที่ประดิษฐ์คิดแต่งขึ้น ซึ่งจะเล่าในรูปแบบร้อยแก้วหรือร้อยกรอง มีเนื้อเรื่องธรรมดาแต่มีวิธีการเล่าที่แปลก
                Myth หมายถึงเรื่องเล่าที่รู้จักกันมาแต่โบราณ เนื้อเรื่องมักจะกล่าวถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา อิทธิปาฏิหาริย์ของพระเจ้า เทพเจ้า วีรบุรุษ
                Fable หมายถึงเรื่องสั้นๆที่มุ่งแสดงให้เห็นสัจธรรม เรื่องเรื่องจริงบางอย่าง ตัวละครมักจะเป็นสัตว์หรือคนโดยส่วนใหญ่เป็นการวิจารณ์มนุษย์
                Fabliau หมายถึง เรื่องเล่าสั้นๆที่แต่งเป็นร้อยกรอง สามารถนำเพลงมาร้องได้ จะสอดแทรกอารมณ์ขันและยั่วล้อ
                Fairy Tales หมายถึง นิทานประเภทหนึ่งของ myth ซึ่งเน้นเรื่องเกี่ยวกับเทพเจ้า เทพยา ภูตผีปีศาจ วิญญาณ
                Legend หมายถึง เรื่องราวชีวิตของนักบุญหรือบุคคลธรรมดาที่บำเพ็ญความดี มีคุณธรรมน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง
                ในการแปลจะต้องใช้รูปแบบภาษาระดับกลาง ใช้วิธีเขียนแบบเก่า โบราณ ตอนจบเป็นคำสอนการแปลชื่อของเรื่องนี้ สามารถใช้วิธีการแปลแบบตรงตัว

หลักการแปลเรื่องเล่า
                เรื่องเล่าสั้นๆแฝงอารมณ์ขันมักจะปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ผู้อ่านจะต้องเข้าใจปมของอารมณ์ขันและหยิบยกขึ้นมาแปลถ่ายทอดให้ตรงตามต้นฉบับ
                เรื่องเล่าจะประกอบด้วยตัวละคร 1-2 ตัวซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ตอนจบมักจะเป็นปมอารมณ์ขันที่เป็นจุดเด่นของเรื่อง
                การแปล มีวิธีการแปลตามขั้นตอน คือเริ่มด้วยการอ่านให้เข้าใจแล้วเขียนบทแปล โดยการใช้ภาษาระดับกลาง มีความกำกวมและอารมณ์ขัน
               
หลักการแปลการ์ตูน
                การ์ตูนไม่ใช่เรื่องสั้นสำหรับเด็กๆแต่เป็นวรรณกรรมทั้งชายหญิงที่จะได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน ผ่อนคลายเครียดจากการอ่านการ์ตูน นอกจากนี้การ์ตูนยังมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ความสามารถเชิงสังเกต วิเคาระห์และเชาว์ไวไหวพริบแก่ผู้อ่าน
                หลักการแปลสำคัญในการแปลการ์ตูน คือการใช้การใช้คำแปลที่สั้น ชัดเจน เข้าใจได้หรือสื่อสารได้ สามารถกำจัดคำภายในกรอบคำพูดได้ ภาษาในการสนทนามีหลายระดับขึ้นอยู่กับตัวละครที่สร้างขึ้น

หลักการแปลกวีนิพนธ์
                กวีนิพนธ์เป็นวรรณกรรมที่แต่งเป็นร้อยกรอง มีกฏเกณฑ์แน่นอนตายตัวด้วยการจำกัดจำนวนคำ จำนวนพยางค์และจำนวนบรรทัด ทั้งเสียงหนักเบา การสัมผัสและจังหวะ
                การแปลเป็นร้อยกรอง
                วิธีนี้นิยมใช้กับวรรณคดีโบราณที่มุ่งเน้นทั้งเนื้อหาสาระและความไพเราะของภาษา ซึ่งจะต้ งนำเสนอเนื้อหาที่ใกล้เคียงเนื้อหาเดิมให้มากที่สุดโดนยึดฉันทลักษณ์ไว้อย่างเหนียวแน่น พยายามเล่นคำ เล่นความหมายตามต้นฉบับทุกจังหวะ ทุกบททุกตอน
                การแปลเป็นร้อยแก้ว
                ผู้แปลจะใช้การแปลกวีนิพนธ์เป็นร้อยแก้วต่อเมื่อมีจุดประสงค์เพียงการสื่อสารความคิดและวัฒนธรรมอื่นๆในกวี





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น