วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ

                                                                                ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
                                                                                                                        (สิทธา พินิจภูวดล)

                การเขียนที่ดีต้องเขียนด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติคือภาษาที่คนพูดกันทั่วไปในสังคมไทยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ทันที องค์ประกอบที่นักแปลต้องพิจารณาเพื่อให้งานที่แปลเป็นภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติได้แก่คำ ความหมาย การสร้างคำ สำนวนโวหาร
 คำ ความหมาย ในการสร้างคำ
                คำว่าทำมีความหมายแตกต่างกันหลายอย่างมีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝงมีความหมายเชิงเปรียบเทียบและคำบางคำมีความหมายต่างกันไปตามยุคสมัยเช่นคำว่ากู อดีตเป็นคำที่ใช้พูดจากันโดยทั่วไปแต่ปัจจุบันเป็นคำหยาบที่มีความหมายเลวลงและจำกัดแคบลง
การสร้างคำกริยา

                ในที่นี้จะกล่าวถึง การเสริมท้ายคำกริยาด้วยคำกริยาซึ่งทำให้เราเข้าใจความหมายที่แท้จริงดั้งเดิมของมัน ส่วนใหญ่คำที่นำมาเสริมนั้นได้แก่ขึ้น ลง ไป มา เช่นทำขึ้นเกิดขึ้นเสื่อมลง ทำไป คิดไป กลับมา เดินไปเดินมา เดินทางขึ้นๆลงๆ
การเข้าคู่คำ
                คือการนำคำหลายคำมาเข้าคู่กันเพื่อให้ได้คำใหม่ โดยมีความหมายใหม่หรือมีความหมายคงเดิม เช่น การงาน แข็งแรง ข้าวปลาอาหาร ห้ามไม่ให้คนมีคนจน งานหนักงานเบา ความรู้สึกผิดชอบ ผู้ใหญ่ผู้น้อย
สำนวนโวหาร
ในการแปลขั้นสูงผู้แปลจะต้องรู้จักใช้สำนวนในการเขียนและการใช้โวหารหลายๆแบบเพราะจะทำให้สื่อความหมายได้ชัดเจน ในวรรณกรรมชั้นดีผู้เขียนมักจะใช้สำนวนโวหารแปลกๆ ซับซ้อนเพื่อความบันเทิง มีอยู่หลายสำนวนที่ถูกลืม เช่น ฟังให้จบ ดูให้ทั่ว เรียนให้เก่ง ดูให้ดี
สำนวนที่มีคำซ้ำ
                หมายถึงคำเดียวกันซ้ำกันและคำที่มีความหมายเหมือนกันซ้ำกัน ซึ่งล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสียดังนี้
                ข้อดี คือ เพื่อความไพเราะ เพื่อให้มีความหมายอ่อนลง เพื่อให้ได้คำใหม่ๆใ เพื่อแสดงจำนวนที่มาก
                ข้อเสียของการใช้คำซ้ำรูปซ้ำความหมาย คือ กลายเป็นรุ่มร่ามฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็นและจะแสดงถึงฝีมือของกวีอีกด้วย
                ตัวอย่าง เช่น พูดจาปราศรัย บ้านช่องห้องหอ อาคารบ้านเรือน ห้อยโหนโยนตัว ถนนหนทาง
โวหารภาพพจน์
                เป็นโวหารที่กวีจะต้องทำความเข้าใจอย่างท่องแท้เพราะจะมีการสร้างภาพพจน์ที่กว้างขวางและสับสับซ้อน
1 โวหารอุปมา คือการสร้างภาพพจน์ด้วยการเปรียบเทียบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบาย พูดพาดพิงถึงเสริมให้งามขึ้น
2 โวหารอุปลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบความหมายโดยนำความเหมือนและไม่เหมือนของสิ่งที่จะเปรียบเทียบมากล่าว เช่น “เขามองดูเส้นผมแห่งความทุกข์ของเธอมันหงอกประปรายหยาบและรุงรัง”
3 โวหารเย้ยหยัน คือการใช้คำด้วยอารมณ์ขัน เพื่อยั่วล้อ เย้ยหยัน เหน็บแนมหรือชี้ให้เห็นข้อบกพร่องซึ่งมักจะใช้ถ้อยคำถากถาง แดกดัน เย้ยหยัน เช่น “ความชั่วของเธอ น้ำทั้งมหาสมุทรก็ล้างไม่หมด”
4 โวหารขัดแย้ง คือ การใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามกันมาเรียงต่อกันโดยรักษาสมดุลไว้ เช่น “คนสูงตำหนิตัวเอง คำต่ำตำหนิผู้อื่น
5 โวหารที่ใช้ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด ได้แก่การนำคุณสมบัติเด่นๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาใช้แทนที่จะเอยถึงสิ่งนั้นตรงๆ เช่น ราชบัลลังก์ ประทีป แสงอาทิตย์ แม่น้ำ
6 โวหารบุคคลาธิษฐาน คือการนำสิ่งต่างๆที่ไม่มีชีวิตรวมทั้งความคิด การกระทำและนามธรรมอื่นๆมากล่าวเหมือนบุคคล เช่น “วานเมฆว่าย ฟ้าไปเฝ้าน้อง”
7 โวหารที่กล่าวเกินจริง มีจุดประสงค์เพื่อที่จะเน้นให้เห็นความสำคัญ ชี้ให้ชัดเจนและแสดงถึงอารมณ์ที่รุนรง เช่น “คิดถึงใจจะขาด หิวน้ำจนคอเป็นผง”

ลักษณะที่ดีของสำนวนโวหาร
                                                “ถูกหลักภาษา ไม่กำกวม มีชีวิตชีวา สมเหตสมผล คมคายเฉียบแหลม”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น