วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

text types

รูปแบบการเขียน
                รูปแบบการเขียน (Form of writing) หมายถึง วิธีการเรียบเรียงเนื้อหาในการเขียน ซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นแบบแผน มีคุณลักษณะและมีองค์ประกอบหลักที่ใช้การเขียนสำหรับรูปแบบ  รูปแบบการเขียนมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงานเขียน
จุดประสงค์ในการเขียน
                จุดประสงค์ในการเขียนมีหลายประการตามความต้องการของผู้เขียนซึ่งจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการเขียน จุดประสงค์ในการเขียนโดยทั่วไปมีผู้รวบรวมไว้ดังต่อไปนี้
                1.    เพื่อเล่าเรื่อง บอกเรื่องราวต่างๆจากประสบการณ์ เช่น เล่าประวัติ เล่าเหตุการณ์ เล่าประสบการณ์ชีวิต เล่าเรื่องราวตามลำดับเหตุการณ์ บันทึกเหตุการณ์ บันทึกประจำวัน

                2.    เพื่อแสดงความคิดเห็นและแนะนำ เช่น แสดงแนวคิดจากการอ่าน แสดงอารมณ์และความรู้สึก แสดงความคิดอย่างเสรีและเชิงสร้างสรรค์ แสดงความเห็นประกอบเหตุผล แนะนำตนเอง แนะนำบุคคล แนะนำสถานที่
                3.    เพื่ออธิบายให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เช่น อธิบายเรื่องธรรมชาติ อธิบายเหตุผล อธิบายการแสดงหรือพฤติกรรมของบุคคล  อธิบายวิธีการ/การปฏิบัติ  อธิบายวิธีทำตามขั้นตอน
                4.    เพื่อจดบันทึกการฟัง การดูและการอ่าน จากสื่อต่างๆ เช่น บันทึกความรู้ บันทึกการฟัง บันทึกการอ่านหนังสือ
                5.    เพื่อการวิเคราะห์ เช่น แสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ เขียนวิเคราะห์ข่าว เขียนแสดงข้อเท็จจริงและความคิดเห็น
                6.    เพื่อการวิจารณ์ เช่น วิจารณ์ตัวละคร/บทละคร/บทความ วิจารณ์เรื่องจากภาพ
                7.    เพื่อสร้างจินตนาการและความบันเทิง เช่น นิทาน เรียงความเรื่องตามจินตนาการ บรรยายภาพ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ บทละคร บทสนทนา
                8.    เพื่อการโฆษณา ชักจูงใจ เชิญชวน และประกาศแจ้งความ เช่น โฆษณาสินค้า โฆษณาหาเสียง  คำอวยพร บัตรเชิญในโอกาสต่างๆ ประกาศของทางราชการ
                9.    เพื่อประโยชน์ในการเรียน เช่น เขียนสรุปความ เขียนย่อความ เขียนย่อเรื่อง เขียนสรุปความจากการฟังหรือการอ่าน
                10.  เพื่อการใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น จดหมาย การกรอกแบบรายการต่างๆ
ที่มาของกระบวนการเขียน
               
                1.    การเขียนรายงานสารสนเทศ (Information report) เป็นข้อเขียนที่ให้สารสนเทศ               โดยกล่าวถึงข้อเท็จจริง โดยทั่วไปใช้บรรยายเกี่ยวกับประเภทหรือกลุ่มของคน สัตว์ สิ่งของ หรือ สถานที่ การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
                        1)    ตอนนำ (Introduction) กล่าวถึงนิยามหรือการจัดประเภท หรือคำบรรยายสั้นๆ
                        2)    ตอนบรรยาย (Description) กล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้นเป็นย่อหน้าๆไป อาจใช้ภาพถ่าย ภาพวาด แผนที่หรือแผนผัง ประกอบด้วย หัวข้อย่อย ในการบรรยายที่ใช้กันมาก ได้แก่
                                (1)  เรื่องเกี่ยวกับสัตว์ ประกอบด้วย
                                        ก.    รูปร่างภายนอก
                                        ข.    ที่อยู่อาศัย
                                        ค.    การเคลื่อนไหว
                                        ง.    อาหาร
                                        จ.    พฤติกรรม
                                        ฉ.    วงจรชีวิต
                                (2)  เรื่องเกี่ยวกับบุคคล ประกอบด้วย
                                        ก.    ชื่ออายุ
                                        ข.    รูปร่างภายนอก
                                        ค.    บุคลิกภาพ
                                        ง.    อาชีพ
                                        จ.    ความสำเร็จ]
                                        ฉ.    ประวัติความเป็นมา
                                (3)  เรื่องเกี่ยวกับสิ่งของ ประกอบด้วย
                                        ก.    ลักษณะภายนอก
                                        ข.    ส่วนต่างๆ
                                        ค.    หน้าที่
                                        ง.    ลักษณะเฉพาะ
                                        จ.    การใช้ประโยชน์
                                        ฉ.    คุณค่า
                                (4)  เรื่องเกี่ยวกับสถานที่ ประกอบด้วย
                                        ก.    ตำแหน่งที่อยู่
                                        ข.    ภูมิอากาศ
                                        ค.    ภูมิประเทศ
                                        ง.    ประชากร
                                        จ.    วัฒนธรรม
                                        ฉ.    ประวัติศาสตร์
                        3)    ตอนสรุป (Conclusion) เขียนสรุปความหรือข้อคิดเห็น
                        เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริง จึงไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึก ใช้คำที่มีความหมายกว้างๆและใช้สรรพนามบุรุษที่สาม

                2.    การเขียนเกี่ยวกับวิธีการ (Procedure) เป็นข้อเขียนที่บอกให้ทราบว่า จะสร้างหรือทำ สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้อย่างไร การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
                        1)    เป้าประสงค์ (Goal) เป็นการบอกถึงสิ่งที่จะสร้างหรือทำ ซึ่งอาจรวมไปถึง                 การบรรยายสั้นๆ ถึงผลผลิตที่จะเกิดขึ้น
                        2)    สิ่งที่ต้องการใช้ (Requirements) กล่าวถึงรายการสิ่งที่ต้องการใช้ในการกระทำ ได้แก่
                                (1)  ส่วนประกอบในการทำ
                                (2)  เครื่องใช้ต่างๆ
                                (3)  วัสดุ
                                (4)  เครื่องมือ
                        3)    ขั้นตอน (Steps) กล่าวถึงขั้นตอนการทำตามลำดับ อาจใช้ภาพหรือแผนผังประกอบ การสอนเริ่มด้วยคำกริยาและอธิบายให้ชัดเจนว่า “ทำอะไรและทำอย่างไร” โดยทั่วไปใช้สรรพนามบุรุษที่สองหรือสาม

                3.    การเขียนเล่าเหตุการณ์ (Recount) เป็นข้อเขียนที่เล่าถึงเหตุการณ์หรือประสบการณ์              ที่ผ่านมา เรียงลำดับตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
                        1)    ตอนนำ (Introduction) เป็นการกำหนดฉาก โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับใคร/อะไร เมื่อไร ที่ไหน และทำไม
                        2)    เหตุการณ์ (Evaents) กล่าวถึง อะไรที่เกิขึ้นตามลำดับของเวลา โดยใช้คำเกี่ยวกับเวลา ได้แก่ “แรกสุด ต่อมา ในไม่ช้า ระหว่าง ภายหลัง ต่อมาภายหลัง ในที่สุด สิ่งสุดท้าย” รวมทั้งคำคุณศัพท์ ข้อความที่เขียนเป็นเรื่องของอดีตกาล
                        3)    ตอนสรุป (Conclusion) เป็นการกล่าวถึงข้อคิดเห็นส่วนตัวว่า ผู้เขียนคิดอะไร รู้สึกอย่างไร หรือตัดสินอะไรเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การเขียนมีลักษณะเป็นส่วนตัว จึงใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง


                4.    การเขียนอธิบาย (Explanation) เป็นข้อเขียนที่อธิบายว่าบางสิ่งบางอย่างทำงานอย่างไรหรือบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นได้อย่งไร ทำไมจึงเกิดขึ้น การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
                        1)    ตอนนำ (Introduction) เป็นข้อความทั่วไปเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องอาจประกอบด้วยนิยามหรือคำถาม คำบรรยายสั้นๆ
                        2)    การอธิบาย เป็นชุดของข้อความที่อธิบายตามลำดับในเรื่อง
                                (1)  บางสิ่งบางอย่างทำงานอย่างไร ซึ่งอาจประกอบด้วย
                                        ก.    ใช้ทำอะไร
                                        ข.    แต่ละส่วนทำอะไร
                                        ค.    แต่ละส่วนทำงานร่วมกันอย่างไร
                                        ง.    ใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
                        หรืออาจอธิบายในเรื่อง
                                (2)  ทำไมบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น ซึ่งอาจประกอบด้วย
                                        ก.    เริ่มต้นอย่างไร ทำไม
                                        ข.    อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป ทำไม
                                        ค.    อะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนั้น ทำไม
                                        ง.    อะไรจะเกิดขึ้นในท้ายที่สุด ทำไม
                        3)    ตอนสรุป เป็นการสรุปความหรือให้ข้อคิดเห็น อาจประกอบด้วยการสรุปความหรือข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ และประวัติความเป็นมา
                        การเขียนแต่ละประเด็นสำคัญให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ คำที่ใช้ได้แก่ ศัพท์เทคนิคหรือศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ คำกริยา และคำสันธาน ข้อเขียนจะเป็นปัจจุบันกาล ไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกและใช้สรรพนามบุรุษที่สาม

                5.    การเขียนโน้มน้าว (Persuasion) เป็นข้อเขียนที่นำเสนอความเห็นพร้อมด้วยเหตุผลหรือหลักฐานสนับสนุนเพื่อชักจูงความคิดของผู้อ่าน หรือต้องการขยายบางสิ่งบางอย่าง เช่น การโฆษณา เป็นต้น การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
                        1)    ตอนแสดงจุดยืนของผู้เขียน (Position) โดยกล่าวถึงหัวข้อเรื่องหรือประเด็นปัญหาว่าคืออะไร และความคิดเห็นของผู้เขียนในเรื่องนี้คืออะไร การเขียนตอนนี้ควรใช้ข้อความที่ดึงดูดความสนใจ
                        2)    ตอนที่ว่าด้วยเหตุผล (Arguments) กล่าวถึงประเด็นสำคัญทีละประเด็น พร้อมด้วยหลักฐานสนับสนุน เพื่อให้ผู้อ่านพิจารณาว่าเหตุใดจึงต้องเชื่อตามความคิดเห็นของผู้เขียน การเขียนจะมีลักษณะดังนี้
                                เหตุผลที่ 1 เพราะว่า .............................                                                  
                                เหตุผลที่ 2 เพราะว่า .............................
                                เหตุผลที่ 3 เพราะว่า .............................
                        3)    ตอนสรุปรวม (Summing up)  กล่าวย้ำถึง ความเชื่ออันเป็นจุดยืนของผู้เขียนซ้ำอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับสรุปเหตุผลสำคัญๆว่าเหตุใดผู้เขียนจึงเชื่อเช่นนั้น การเขียนควรใช้คำที่แสดงอารมณ์และคำเชื่อมโยงถึงเหตุผลในลักษณะโน้มน้าวและเป็นปัจจุบันกาล

                6.    การเขียนอภิปราย (Discussion) เป็นข้อเขียนที่กล่าวทั้งข้อดีและข้อเสียของหัวข้อปัญหา โดยแสดงเหตุผลที่สนับสนุนและคัดค้านในเรื่องนั้น การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน คือ
                        1)    ตอนที่ว่าด้วยหัวข้อปัญหา (Issue) เป็นการแนะนำหัวข้อปัญหาหรือหัวข้อเรื่องว่า คืออะไร กล่าวถึงกลุ่มที่ต่างกัน มีความเห็นต่างกัน อาจแนะนำกลุ่มที่สนับสนุนและกลุ่มที่คัดค้าน
                        2)    ตอนที่ว่าด้วยเหตุผล (Argnment) กล่าวถึงประเด็นและหลักฐานของกลุ่ม                     ที่สนับสนุนและคัดค้าน ดังนี้
                                (1)  กลุ่มที่สนับสนุน
                                        ความเห็นข้อแรก........ ใคร เขาคิดอะไร เหตุใด
                                        ความเห็นข้อที่สอง.......ใคร เขาคิดอะไร เหตุใด
                                (2)  กลุ่มที่คัดค้าน
                                        ความเห็นข้อแรก....... ใคร   เขาคิดอะไร    เหตุใด
                                        ความเห็นข้อที่สอง..... ใคร  เขาคิดอะไร    เหตุใด
                                                                 ฯลฯ
                        3)    ตอนสรุป เป็นการสรุปความถึงเหตุผลและผู้เขียนให้ข้อเสนอแนะอะไร เพราะเหตุใด การเขียนมีการใช้คำนาม สรรพนาม และคำที่เชื่อมถึงเหตุผลที่แสดงถึงปัจจุบันกาลหรืออดีตกาล ลักษณะการเขียนต้องเป็นปรนัยที่ยุติธรรม ใช้สรรพนามบุรุษที่สองหรือที่สาม

                7.    การเขียนเล่าเรื่อง (Narrative) เป็นข้อเขียนที่เล่าถึงเรื่อง (Story) ต่างๆที่ให้ความบันเทิง กระตุ้น หรือสอน  มุ่งที่จะให้ผู้อ่านเกิดความตั้งใจ และคงความสนใจไว้ได้นาน เรื่องมีหลายประเภท ได้แก่ ละครเหมือนชีวิตจริง เรื่องเชิงจินตนาการ เรื่องผจญภัย นิยายเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่องลึกลับ เทพนิยาย นิทาน ตำนาน เป็นต้น การเขียนแบ่งออกเป็น 4 ตอน ได้แก่
                        1)    ตอนที่เป็นการเกริ่น (Orientation) กล่าวถึง ฉากและตัวละคร ซึ่งจะรวม         การกล่าวถึง “ ใครหรืออะไร  ที่ไหน และ เมื่อไร”
                        2)    ตอนที่กล่าวถึงความยุ่งยาก (Complication) เป็นการกล่าวถึงความยากลำบากหรือปัญหา ที่ทำให้การดำรงชีวิตหรือความสะดวกสบายของตัวละครเกิดความยุ่งยากขึ้น และก่อให้เกิดลำดับของเหตุการณ์ที่น่าสนใจตามมา
                        3)    ลำดับเหตุการณ์ (Sequence of events) ซึ่งอาจประกอบด้วย
                                (1)  การบรรยายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
                                        ลำดับแรก……
                                        ต่อมา.....
                                        ภายหลัง.....
                                        หลังจากนั้น......
                                (2)  ลำดับเหตุการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นกับตัวละครแต่ละตัว
                                        ในขณะที่.....
                                        ในขณะ.....
                                        ในระหว่างนั้น.....
                                        เมื่อ.....
                                (3)  การผสมผสานของลำดับ
                                (4)  ความยุ่งยากอื่นๆ
                        4)    การแก้ปัญหา (Resolution) เป็นการกล่าวถึงผลสุดท้ายของเหตุการณ์ณ์ ซึ่งเป็นชุดที่ปัญหาได้รับการแก้ไข

                8.    การเขียนแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกตอบสนอง (Response) เป็นข้อเขียนที่ผู้เขียนบรรยายถึงปฏิกิริยาตอบสนองต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์ ใช้สำหรับการวิจารณ์ การให้ข้อมูลย้อนกลับ หรือการประเมิน เพื่อแสดงถึงความคิด หรือความรู้สึกต่อสิ่งนั้นๆ ว่าอะไรเกิดขึ้น มีใครเกี่ยวข้องบ้าง ทำไมจึงมีความพิเศษในเรื่องนั้น จะโต้ตอบอย่างไร เรื่องนั้นมีผลอย่างไรต่อผู้เขียน ผู้เขียนรู้สึกอย่างไร และผู้เขียนคิดอะไรอยู่ การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
                        1)    ตอนที่เป็นการเกริ่นนำ (Orcintation) เป็นการระบุเรื่องว่าอะไร ใคร เมื่อไร และ   ที่ไหน
                        2)    รายละเอียด (Details) เป็นการบรรยายเรื่องและปฏิกิริยาตอบสนองของผู้เขียนต่อเรื่องนั้น
                                (1)  การบรรยายเรื่อง อาจประกอบด้วย ตัวบุคคลหรือตัวละครที่เกี่ยวข้อง สรุปว่าอะไรเกิดขึ้น มีลักษณะสำคัญอะไร
                                (2)  การตอบสนอง อาจประกอบด้วย เรื่องนั้นทำให้ผู้เรียนรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไรเกี่ยวกับตัวละครและเหตุการณ์ ผู้เขียนได้เรียนรู้อะไร
                        3)    การสรุป กล่าวถึงการประเมินตอนสุดท้าย หรือข้อเสนอแนะ การเขียนจะใช้คำที่เป็นการบรรยาย และคำที่เกี่ยวกับการประเมินในลักษณะอดีตกาลและรวมถึงอนาคตกาล

                9.     การเขียนบรรยาย (Description) เป็นข้อเขียนที่ให้รายละเอียดของคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง ข้อเขียนแบบนี้จะใช้อยู่ในข้อเขียนแบบอื่นๆด้วย ซึ่งจะกล่าวถึง อะไร  ที่ไหน เมื่อไร  ดูเป็นอย่งไร เสียงเป็นอย่างไร กลิ่นเป็นอย่างไร ให้ความรู้สึกอย่างไร มีความเป็นพิเศษเพราะอะไร เป็นต้น  การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
                        1)    ตอนนำ (Introduction) เป็นข้อความทั่วไปเกี่ยวกับเรื่อง ได้แก่ ใคร/อะไร เมื่อไร               ที่ไหน
                        2)    ตอนรายละเอียด (Detail) เป็นการบรรยายคุณลักษณะ
                                (1)  สำหรับบุคคล กล่าวถึง เขาดูเป็นอย่งไร เขาทำอะไร เขาแสดงออกอย่างไร อะไรที่เขาชอบ/ไม่ชอบ
                                (2)  สำหรับสิ่งของ กล่าวถึง สิ่งนั้นดูเป็นอย่างไร ได้ยิน-รู้สึก-ได้กลิ่น-รส เป็นอย่างไร พบที่ไหน มันทำอะไร ใช้อย่างไร อะไรที่เป็นคุณสมบัติพิเศษ
                        3)    ตอนสรุป สรุปใจความสำคัญ

                10.  การเขียนจดหมาย (Letter) จดหมายคือสารในรูปข้อเขียนที่มีหลายชนิด เช่น การเขียนบอกข่าวหรือเล่าเรื่องที่พบเห็น การเขียนเสนอความคิดหรือความรู้สึก การเขียนข้อร้อง เป็นต้น               การเขียนแบ่งเป็น 4 ตอนได้แก่
                        1)    ผู้ส่ง (Sender) แจ้งที่อยู่หัวจดหมายสำหรับการส่งจดหมายตอบกลับ อาจรวมถึงหมายเลขโทรศัพท์และอีเมล์
                        2)    ถึงผู้รับ (To) ประกอบด้วย วันที่ ชื่อ ที่อยู่ และการทักทายโดยใช้ชื่อของผู้รับ
                        3)    สาร (Message) รายละเอียดของสารประกอบด้วย ตอนนำ สาร และความเห็น โดยเขียนอย่างสุภาพ
                        4)    จากผู้ส่ง (From) ประกอบด้วยคำลงท้าย ชื่อผู้ส่ง ตำแหน่ง (ถ้าเป็นจดหมายทางการ)


                11.  คำเชิญ (Invitation) เป็นข้อเขียนที่ขอร้องให้เข้าร่วมเหตุการณ์ การเขียนแบ่งเป็น 4 ตอน ได้แก่
                        1)    ถึงผู้รับ ระบุชื่อบุคคลหรือกลุ่ม
                        2)    รายละเอียด ประกอบด้วย
                                (1)  งานอะไร เช่น ปาร์ตี้ อาหารกลางวัน กาแฟ เลี้ยงอำลา
                                (2)  เมื่อไร ได้แก่ วันที่และเวลา
                                (3)  ที่ไหน ได้แก่ ที่อยู่และที่ตั้ง
                                (4)  การแต่งกาย
                                (5)  สิ่งที่ขอให้นำไปด้วย
                        3)    จากใคร รายละเอียดของผู้ส่ง ได้แก่ ชื่อและที่อยู่
                        4)    การตอบกลับ รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการตอบกลับ

                12.  การเขียนข่าว (News) เป็นข้อเขียนที่บรรยายถึงเหตุการณ์ปัจจุบัน ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และอย่างไร การเขียนแบ่งเป็น 5 ตอน  ได้แก่
                        1)    หัวข้อข่าว (Headline) ใช้ข้อความที่ดึงดูดความสนใจ
                        2)    ตอนนำ (Lead) กล่าวถึง ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และอย่างไร
                        3)    เนื้อข่าว (Body) การอธิบายและสารสนเทศเพิ่มเติม
                        4)    ข้อเสนอแนะ
                        5)    ขื่อผู้เขียนข่าว
                คำแนะนำของ Eather ในการเขียนตามรูปแบบต่างๆ ส่วนใหญ่จะแบ่งการเขียนเป็น 3 ตอน (มีจำนวนเล็กน้อยที่แบ่งเป็น 4 ตอนและมากกว่า)  ซึ่งคล้ายกับแนวการเขียนของ  Answer Corperation (2010: Online) ที่กล่าวในตอนต้น คำแนะนำต่างๆ นี้สามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้อย่างดี
                Sweet Briar College (2010: Online)  ให้ข้อแนะนำสำหรับการเขียนร่างข้อเขียนไว้ดังนี้
                1.    จากกลวิธีที่ช่วยให้ได้ความคิดที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องในขั้นการเตรียมการก่อนเขียน เช่น การระดมสมอง การเขียนอย่างอิสระหรือการจัดทำรายการ ทำให้ได้ความคิดมากมายที่ผู้เขียนสามารถเลือกว่าจะใช้ความคิดใดมานำเสนอในการเขียนร่าง เรียงลำดับความคิดเหล่านั้น โดยใช้หมายเลขกำกับ
                2.    ในการร่างข้อเขียนควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
                        1)    ย่อหน้าที่เป็นตอนนำ ต้องประกอบด้วยข้อความที่เป็นความคิดหลัก และความคิดสำคัญที่สนับสนุนความคิดหลักเรียงไปตามลำดับ
                        2)    นำความคิดสำคัญที่สนับสนุนความคิดหลักมานำเสนอในตอนเนื้อเรื่อง ในตอนเริ่มต้นฝึกควรมีความคิดสำคัญ 3 ข้อ
                        3)    นักเขียนจำนวนมากเขียนตอนนำหลังจากได้เขียนส่วนอื่นทั้งหมดแล้ว เพราะการเขียนแนะนำในสิ่งที่เขียนไปแล้วจะทำให้เขียนง่ายขึ้น

               



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น