วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

                                                                          บทที่ 1

                                                              ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

ความสำคัญของการแปล
                ปัจจุปันการใช้ภาษาอังกฤษได้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในทุกส่วนของโ,ลก เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร ติดต่อค้าขาย การเดินทาง การพาณิชย์ตลอดจนการศึกษา ที่มีการแปลหนังสือจากภาษาต่างๆเพื่อมาทำการเรียนการสอนในประเทศไทยอย่างมากมาย  การแปลเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นงานที่ต้องละเอียด พิถีพิถัน  ต้องมีการศึกษาวิเคาระห์ข้อมูลในการเทียบเคียงความหมาย การตีความต่างๆให้ตรงกับเจ้าของภาษา ดังนั้นนักแปลจึงต้องมีความเพียรพยายามในการฝึกฝน จนเกิดความชำนาญทั้งทางด้านประสบการณ์และความรู้ซึ่งเราสามารถยึดการแปลเป็นอาชีพได้
การแปลในประเทศไทย
                การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสั่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก ซึ่งการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในช่วงวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ช่วงที่มีความเจริญทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้เรามีบริษัทตัวแทนค้าขายในต่างประเทศ เป็นตัวแทนนำท่องเที่ยวในประเทศไทยซึ่งทำรายได้อย่างงดงามแต่อย่างไรก็ไม่เทียบเท่าทางด้านวิชาการที่สร้างความรู้ให้กับผู้คนในประเทศ สร้างความเข้าใจอันดีให้กับเพื่อนบ้านและพัฒนาทั้งวรรณคดี วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและถูกต้อง


การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                ผู้แปลงานวิชาการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและจะต้องมีนักภาษาอีกด้วยเพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ โดยเฉพาะเรื่องวัฒนธรรมทางภาษา การที่มีนักภาษามาช่วยในการแปล
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
                
                การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัยเป็นการสอนแปล ที่ผู้เรียนต้องรู้เรื่องของไวยากรณ์ โครงสร้างของภาษาและการใช้ภาษาและการอ่านเพื่อทำความเข้าใจอย่างดี เพราะผู้เรียนจะต้องสามารถอ่านออกเขียนได้โดยเฉพาะกับโครงสร้างยากๆ ยาวๆ ทั้งในภาษาต้นฉบับและภาษาที่จะแปล
การแปลคืออะไร
                  การแปล คือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปสู่ภาษาหนึ่งโดยมีใจความครบสมบูรณ์ตรงตรมต้นฉบับทุกประการ และเป็นเรื่องที่สามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ แต่การแปลทางวรรณคดีและการแปลร้อยกรองเป็นศิลปะชั้นสูงที่ต้องอาศัยจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ พรสวรรค์และความสามารถเฉพาะบุคคล

คุณสมบัติของผู้แปล
1.       เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2.       สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
3.       เป็นผู้มีศิลปะในการใช้ภาษา
4.       เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดีหรือภาษาศาสตร์
5.       ผู้แปลต้องเป็นผู้รอบรู้ รักเรียน รักอ่านและรักการค้นคว้าวิจัย
6.       ผู้แปลต้องมีความอดทน มีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข
7.       มีความรับผิดชอบรูจักใช้ความคิดของตนเอง

จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปล คือ สอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคม
                
              นักแปลที่มีคุณภาพ คือนักแปลที่มีความสามารถถ่ายทอดความคิดของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วนไม่ขาดไม่เกินซึ่งจะต้องมีความรู้ในภาษาต้นฉบับและภาษาที่จะแปลอย่างดี

        วัตถุประสงค์ของการแปล

1.       การฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
2.       ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจ สามารถจับใจความได้และสามารถถ่ายทอดความรู้นั้นๆออกมาเป็นตัวอักษรได้
3.       ผู้สอนแปลจะต้องเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการค้นคว้า
4.       ผู้เรียนได้พบปะกับนักแปลมืออาชีพเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

บทบาทของการแปล
                ในการสื่อสารจะมีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งเป็นคนที่มีความสำคัญอย่างมากและต้องมีประสบการณ์ในด้านการใช้ภาษา ความรู้ อาชีพ สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการแปล
ลักษณะของงานแปลที่ดี
                งานแปลที่ดีต้องมีเนื้อหาชัดเจน ถูกต้องตามต้นฉบับ ใช้ภาษาที่ถูกต้อง กระชับความ ใช้รูปประโยคสั้นๆ แ สดงความคิดเห็นไว้อย่างแจ่มแจ้ง รักษาแบบหรือสไตล์การเขียนตามต้นฉบับและมีการปรับแต่งสำนวนเพื่อให้เข้ากับสภาพสังคม เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจโดยง่าย

ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1.       ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้น ต้องเป็นธรรมชาติ ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ใช้ศัพท์เฉพาะสาขา และศัพท์เทคนิคให้เหมาะสม
2.       สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้ เน้นความชัดเจนของภาษาเป็นสำคัญ
3.       ใช้การแปลแบบตีความ แปลแบบเก็บความเรียงแล้วเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ

สรุปคุณสมบัติของผู้แปล
1.       เป็นผู้มีความรู้ในภาษาต้นฉบับและภาษาแปลอย่างดี
2.       เป็นผู้ที่ชื่นชอบวิชาความรู้ในแขนงต่างๆ
3.       เป็นผู้มีวิจารณญาณในการแปล
4.       เป็นผู้มีใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5.       เป็นผู้มีความสามารถอุทิศเวลาให้กับการแปลได้อย่างแท้จริง

                                                                                การให้ความหมายของการแปล
                การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตน การให้ความหมายมี ๒ ประการ คือ การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายเดียวกันและการตีความหมายจากปริบทของข้อความ
                การแปลอังกฤษเป็นไทยต้องคำนึงถึงความหมาย 4 ประการดังนี้
1.       อนาคตกาล การแปลที่ต้องเทียบปัจจุปันกาลกับอนาคตกาล
2.       โครงสร้างประโยคอื่นๆในการแปลแบบกาลในภาษาอังกฤษ รวมทั้งโครงสร้างของไวยากรณ์ที่มีบางอย่างยาก
3.       ศัพท์เฉพาะ
4.       ตีความทำนาย
                   การแปลกับการตีความจากปริบท
                                 ผู้แปลต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพและต้องสามารถสรุปข้อความออกมาได้
                                                                               
                    การวิเคราะห์ความหมาย
                                 การวิเคราะห์ความหมายมีด้วยกัน 3 สิ่ง คือ องค์ประกอบของความหมาย ความหมายและรูปแบบและประเภทของรูปแบบ

             องค์ประกอบของความหมาย

1.       คำศัพท์ความหมายของคำศัพท์แต่ล่ะคำจะเปลี่ยนไปตามบริบท
2.       ไวยากรณ์ คือแบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา เพื่อให้ประโยคนั้นๆมีความหมาย
3.       เสียง  ในภาษาจะมีเสียงซึ่งเสียงส่วนมากจะมีความหมาย เมื่อนำเสียงมารวมกันจะทำให้เกิดคำศัพท์และมีความหมายขึ้นมา
        
             ความหมายและรูปแบบ
1.       ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจแสดงได้หลายรูปแบบ เช่นในประโยคที่ต่างกันหรือการใช้คำที่ต่างกัน
2.       ความหมายของรูปแบบต่างๆขึ้นอยู่กับปริบทเป็นสำคัญ
ประเภทของความหมาย
นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดความหมายไว้ 4 ประเภทด้วยกัน
1.       ความหมายอ้างอิงหรือความหมายโดยตรง คือความหมายที่กล่าวโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมหรือเป็นความคิดหรือมโนภาพ
2.       ความหมายแปล คือ ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้ฟังและผู้อ่าน ซึ่งจะก่อให้เกิดความหมายในทางบวกหรือทางลบโดยขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและภูมิหลังของบุคคล
3.       ความหมายตามปริบท รูปแบบหนึ่งๆของภาษา จะมีความหมายหลายความหมาย ต้องพิจารณาจากปริบทและสิ่งแวดล้อมของคำนั้นๆจึงจะรู้ว่าผู้เขียนต้องการสื่อถึงอะไร

4.       ความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบแบบเปิดเผยและการเปรียบเทียบโดยนัย ซึ่งผู้แปลจะต้องวิเคาระห์การเปรียบเทียบให้ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น