วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ”

การอบรมเชิงปฏิบัติการ
เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ

ภาคเช้าในวันแรกของการอบรม
                ในภาคเช้าเป็นการเสวนางานวิจัยในหัวข้อ Beyond language learning โดยผศ.ดรประกาศิต สิทธิติกุล  อาจารย์สุนทร บุญแก้วและดร.สุจินต์ หนูแก้วซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการทำงานและงานวิจัยมานานแต่ในครั้งนี้ทั้งสอนคนคือ อาจารย์สุนทร บุญแก้วและดร.สุจินต์ หนูแก้วได้นำเสนองานวิจัยของตนเองที่ลักษณะต่างกันซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์กับพวกเราทุกคน
                ดร.สุจินต์ หนูแก้ว กล่าวถึงลักษณะของบุคคลในทศวรรษที่ 21 ที่ขาดทักษะทางด้านการวิเคราะห์ เช่นเวลามีเรื่องราวอะไรที่ชาวโลกออนไลน์แชร์กัน ก็หลงเชื่อโดยปราศจาการวิเคราะห์ ซึ่งเป็นปัญหาอันใหญ่หลวงที่ทำให้ปัจุปันมีแต่เรื่องวุ่นวาย ซึ่งท่านได้บอกถึง การคิดวิเคราะห์สองตัว คือ Analysis และ Analytical ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันโดยที่ตัวแรก Analysis เป็นเพียงการนำเอาข้อมูลมาวิเคาระห์แต่ไม่เอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิต เช่นการจำแนก การจัดกลุ่ม ส่วน Analytical จะเป็นรูปแบบของการนำสิ่งที่ผ่านการวิเคาระห์ไปแก้ปัญหา เช่นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ว่าสิ่งนี้เป็นแบบนี้และแก้แบบนี้น่าจะถูกต้อง

                อาจารย์สุนทร บุญแก้ว เป็นการพูดถึง การแก้ไขปัญหาทางการสื่อสารของนักศึกษาสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยวของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยการพานักศึกษาไปอยู่ที่ประเทศมาเลเซียและประเทศสิงค์โปร์เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งเป็นการบังคับให้ทุกคนไปเพื่อฝึกฝนการใช้ภาษาและเรียนรู้วัฒนธรรม โดยเวลาที่ไปอยู่ประเทศมาเลเซียนั้นผู้เรียนต้องจัดกิจรรมทุกอาทิยต์และต้องจัดกิจกรรมครั้งสุดท้ายเพื่อสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งหมดก่อนเดินทางไปประเทศสิงค์โปร์ซึ่งเวลาที่อยู่มาเลเซียนั้นผู้เรียนจะถูกแบ่งออกไปเป็นกลุ่มๆเพื่อง่ายต่อการควบคุมดูแลและในแต่ละกลุ่มจะมีครูพี่เลียงแต่ทำหน้าที่และต้องทำตัวเหมือนเด็กๆไปไหนไปด้วยกันไม่มีกรรมสิทธิ์นอกเหนือจากผู้เรียน ซึ่งหลังจากที่ท่านได้ทำอย่างนี้มา พอกลับมาเมืองไทยพบว่าการพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนเปลี่ยนไปในทางบวกค่อนข้างเยอะซึ่งเป็นผลพวงมาจากการใช้ภาษาอังกฤษทุกๆวันจนเกิดความเคยชิน และมีการเรียนรู้วัฒนธรรมต่างที่เป็นสากล การใช้ชีวิตที่ดีในที่ต่างถิ่น
                ในช่วงเช้านี้กระผมเองได้รับความรู้ว่าทั้งการสื่อสารและการคิดวิเคราะห์ล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งดังนั้นเวลาที่เราไปเป็นครูในอนาคตนอกเหนือจากการสอน เนื้อหา  การใช้ชีวิต การมีคุณธรรม จริยธรรมนั้นต้องสอนการคิดวิเคราะห์ สอนวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาโดยอาศัยกิจกรรมของเจ้าของภาษาเพื่อให้ได้ซึมซับได้อย่างรวดเร็ว

ภาคบ่ายของวันแรกในการอบรม

                ในการอบรมภาคบ่ายนี้เป็นการอบรมในเรื่องของทำไมเราต้องเรียนภาษาอังกฤษและภาษาอังกฤษสำคัญอย่างไร ปัญหาที่พบในการใช้ภาษาอังกฤษ คำที่ใช้ในภาษาอังกฤษซึ่งท่าน ผศ.ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวรก็ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจน
                ทำไมเราต้องเรียนภาษาอังกฤษทั้งที่ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาที่มีคนใช้มากที่สุดในโลกแต่เป็นภาษาจีนที่มีคนใช้มากที่สุด เหตุผลง่ายๆก็คือ ในด้านเทคโนโลยีต่างๆเราจะเห็นว่ามีภาษาอังกฤษเป็นภาษาพื้นฐาน ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนเช่น ซอฟต์แวร์ ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตซึ่งล้วนแต่เป็นภาษาอังกฤษทั้งสิ้น ถ้าหากคนเราไม่รู้ ไม่เข้าใจภาษาอังกฤษเราก็จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในส่วนนั้นๆได้
                ภาษาอังกฤษที่เราใช้พูดกันในปัจจุปันเป็นภาษาที่ไม่มีจริง และเป็นการพูดที่ผิดความจริง เช่น Chill Chill ที่เราหมายความกันว่า สบายๆ และคำอื่นๆเช่น Out, Over, Jam, Back, Noy, American share ซึ่งคำเหล่านี้มีเฉพาะในประเทศไทยและใช้เฉพาะในประเทศไทย ไม่เป็นสากลไม่รู้สาเหตุว่าเพราะอะไรจึ่งเกิดคำแบบนี้ขึ้นมาซึ่งอาจเกิดจากความขี้เกียจที่จะผู้ประโยคยาวๆจึงพูดเหลือแค่คำสุดท้าย คำที่จำได้ แต่ที่จกการศึกษามาคือ ภาษาเปลี่ยนไปเพราะ wifi 
                ภาษาเปลี่ยนไปเพราะ wifi คือเราจะใช้ภาษาสั้นๆถ้อยคำสั้นในการสนทนาโดยเฉพาะบนอินเทอร์เน็ตที่มีการใช้อักษรย่ออย่างมากมายเช่น  WTF,OlO,LOL,TTYL ถึงเมื่อเราส่งไปให้กับผู้อื่นแล้วผู้อื่นสามารถที่ความหมายได้หมายอย่างทำให้ไม่ตรงกับที่ราต้องการจะสื่อสาร ในอินเทอร์เน็ตตัวสะกดบางตัวจะหายไป มีการนำตัวเลขเข้ามาผสม  รวมทั้งคำแสลงที่พบได้อย่างมากมาย
                ปัญหาต่อมาคือเด็กไทยพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติและต้องแก้ไขอย่างรวดเร็ว โดยสาเหตุหลักๆมีอยู่ 3 สาเหตุคือ ทัศนคติของผู้เรียน ทัศนคติของผู้สอนและโอกาสในการเรียนการสอนที่มีไม่เท่ากันและในเมืองไทยเป็นเมืองที่แปลกคือ จะนั่งหัวเราะ นั่งนินทากันเวลาที่ใครออกเสียงผิดซึ่งผมคิดว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เช่นกัน ก่อนอื่นในการพูดภาษาอังกฤษเราก็ต้องรู้ก่อนว่าเสียงนี้มาจากตรงไหน เช่นหลังปุ่มเหงือก ในลำคอ โดยผู้เรียนหรือผู้ที่ต้องการใช้ภาษาต้องมีความรู้ในเรื่องนี้ เพราะหากมีวามรู้ในเรื่องนี้การออกเสียงจะไม่ผิดอย่างแน่นอน
                สุดท้ายก็มีการเล่นเกมส์ซึ่งเป็นเกมส์ หาคำศัพท์ เกมส์ Tic Tac Toe เกมส์ออกเสียงคำศัพท์ เกมส์เพื่อพัฒนาการฟัง เกมส์เพื่อพัฒนาการพูดซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนจริงได้

                สวัสดีเช้าวันที่ 2 ของการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ โดย ผศ.ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร โดยในช่วงนี้เป็นเรื่องของ วิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีด้วยกันหลายวิธีซึ่งมีทั้งข้อดี ข้อเสียที่ต่างกัน โดยเป็นการรู้กันอย่างดีแล้วว่าภาษาอังกฤษเริ่มเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ในช่วงนี้ยังไม่มีการเรียนการสอนใดๆแต่ก็มีล่ามแปลภาษาซึ่งเป็นคนมลายู ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ได้เริ่มมีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษขึ้นเป็นครั้งแรก ที่พระราชวังสวนกุหลาบ
                ในช่วงแรกเป็นการเรียนการสอนแบบท่องจำโดยการอ่านจากตำรา(ในปัจจุปันเรียกวิธีสอนแบบไวยากรณ์และแปล)ไม่เน้นการพูดและการฟัง หลังจากนั้นก็เริ่มมีการเรียนการสอนให้ผู้เรียนพูดแต่ก็แค่พูดไปเรื่อยไม่มีจุดหมายปลายทาง(วิธีสอนแบบตรง) ต่อมาก็ได้เกิดการสอนด้วยวิธีสอนแบบฟัง-พูดซึ่งวิธีนี้เป็นการสอนฟัง-พูดที่พูดไปเรื่อยๆเหมือนกันแต่สิ่งที่เพิ่มมาคือวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
                ในช่วงทศวรรษ 1960 กาเล็บ กเตนโยได้ใช้วิธีการสอนแบบเงียบ คือ เป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้คิดและทำอย่างไรก็ได้ให้ผู้สอนผู้น้อยที่สุด
                เทรซี เทอร์เรลล์และสตีเฟนคราเซน ได้พัฒนาการเรียนการสอนด้วยวิธีการสอนแบบธรรมชาติเป็นแนวการสอนที่เลียนแบบการรับรู้ภาษาที่หนึ่งของเด็กเล็ก ซึ่งเป็นการรับรู้ที่ไม่มีใครสอน พัฒนาทักษะทางภาษากับเจ้าของภาษา
                จอร์จิ โลชานอฟ เป็นนักจิตวิทนาชาวบัลแกเรีย ที่บอกว่ามนุษย์มีพลังสองอยู่อย่างเต็มเปี่ยมแต่ครูไม่สามารถดึงออกมาได้ดังนั้น ในการเรียนการสอนผู้สอนต้องใช้วิธีใดก็ตามที่ดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจในเรื่องนั้นๆ
                และต่อมาก็ได้มีการพัฒนาวิธีการสอนขึ้นหลากหลายรูปแบบเช่น การสอนแบบร่วมมือ การสอนแบบทำโครงงาน การสอนภาษาแบบกำหนดสถานการณ์ การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร การสอนที่เน้นสาระการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการได้รับการยอมรับมากที่สุดเนื่องจากเป็นแนวการสอนที่บูรณาการทุกทักษะมาไว้ด้วยกันไม่แยกกันสอนแต่ละทักษะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้และพัฒนาทักษะอย่างครบถ้วน
                ในช่วงเช้านี้เป็นช่วงที่กระผมได้รับประโยชน์อย่างมากมายเพราะได้เรียนรู้ถึงวิธีการสอน กลยุทธ์ในการสอนซึ่งมีประโยชน์กับกระผมอย่างมากในเวลาที่กระผมออกไปฝึกสอนหรือสอนจริงและในครั้งนี้ได้พัฒนาทั้งทักษะการคิด การฟัง การจับใจความสำคัญ การแก้ปัญหา
                                ในภาคบ่ายเป็นการพูดคุยในเรื่องของห้องเรียนกลับด้าน(The Flipped Classroom)ซึ่งเป็นแนวการสอนแบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในวงการศึกษาไทยและวิธีการสอนแบบนี้ก็ดันมาสอดคล้องกับการเรียนการสอนในทศวรรษที่ 21 ที่มีลักษณะพิเศษครูให้เด็กไปเรียนเนื้อหามาแล้วค่อยมาทำการบ้านในห้องเรียน โดยห้องเรียนกลับด้านนี้มาจากครูวิชาเคมีที่สหรัฐอเมริกาที่พยายามค้นหาวิธีการสอนเพราะว่ามีนักกีฬาสองคนที่ขาดเรียนบ่อย จึงต้องหาวิธีการที่จะทำให้เด็กเหล่านั้นเรียนได้เท่าทันกับเพื่อนในห้องเดียวกัน
                ในการสอนแบบวิธีนี้มีข้อดีด้วยกันหลายๆอย่างเช่น ผู้สอนรู้ได้ว่าสิ่งที่ให้ผู้เรียนไปศึกษามานั้นผู้เรียนได้ศึกษามาไม่ มีข้อสรุปอย่างไรแล้วทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง ส่วนตัวครูผู้สอนเองก็มีหน้าที่ทำสื่อให้ผู้เรียนไปศึกษาเช่น ทำวีดีโอไว้บนยูทูบ เฟสบุ๊คหรือที่ใดก็ตามที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้และให้ห้องเรียนครูก็เป็นแค่คนชี้แนะ คนกำกับให้ผู้เรียนเดินไปในทางที่ถูกต้องเช่นจัดกิดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้มากขึ้น
                กิจกรรมที่ฝึกฝนและเพิ่มความสามารถทางภาษาให้กับผู้เรียนมีมากมายหลายกิจกรรมแต่ในการอบรมครั้งนี้มีการจัดกิจกรรมที่มีทั้งความสนุก สาระซึ่งเป็นกิจกรรมแบบต่อเนื่อง คือเป็นกิจกรรมการโยนลูกบอลแล้วเมื่อเพลงหยุดลูกบอลอยู่ที่ให้ให้คนนั้นออกไปยืนหน้าห้อง เมื่ออกไปยืนหน้าห้องแล้วก็ให้คำสั่งแก่ผู้เรียนว่า ให้แต่งประโยคคนละ 1 ประโยคซึ่งจะต้องมีความเกี่ยวข้องกันและเรียบเรียงเป็นนิทาน โดยในครั้งนี้ ประโยคแรก คือ There was a big family. หลังจากนั้นผู้เข้ารับการอบรมที่ยืนอยู่หน้าห้องก็แต่งประโยคจนนิทานจบลงซึ่งได้ความว่า มีครอบครัวอยู่ครอบครัวหนึ่งมีด้วยกันสี่คนคือ พ่อ แม่ ลูกสาวและจิมผู้เป็นลูกชาย วันหนึ่งจิมได้เดินหลงทางเข้าในป่า เขาเดินทางเข้าไปลึกมากแล้วก็ไปเจอกันพระธุดงค์องค์หนึ่งซึ่งบำเพ็ญศีลมาอย่างยาวนาน เมื่อจิมเข้าไปหาพระ ท่านก็ได้มอบเพชรให้กับจิมก้อนหนึ่งแล้วก็หายไป จิมครวญคิดว่าจะนำเพชรไปทำอะไร ก็พลันคิดถึงครูผู้มอบความรู้ให้แต่ทันใดนั้นเพชรก้อนนั้นก็แสดงอ๓นิหารเป็นสัตว์ประหลาด พอเห็นดังนั้นจิมก็ตกใจตื่นในทันทีเมื่อเล่านิทานจบก็ให้ผู้เข้าอบรมแบ่งกลุ่มกันแล้วก็วาดรูปเรื่องราวในนิทานเพียง 5 รูปแล้วให้สรุปเรื่องราวทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษให้เหลือแค่ 3 ประโยคซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายและยากพอสมควรเมื่อเล่นเกมส์เสร็จก็ช่วยกันสรุปว่าเกมส์ที่ผ่านมามีประโยชน์ทั้งในด้านความคิดรวบยอด ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นกลุ่ม การระดมความคิด ความมั่นใจ ความกล้าหาญ ความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี

                สุดท้ายก็มีการสรุปองค์ความรู้จากการอบรมมาทั้งสองวัน มีการมอบของที่ระลึกและกล่าวปิดการอบรมซึ่งการอบรมครั้งนี้มีประโยชน์แก่กระผมอย่างมากในกระบวนการสอน วิธีการสอน ขอบคุณครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น