วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กาล (In class I)

กาล
                                  (In class I)

                กาลในประโยคภาษาอังกฤษมีความสำคัญต่อการแปล เพราะกาลจะบอกเวลา บอกการกระทำ บอกว่าสิ่งกำลังเกิด กำลังจะเกิด จบไปแล้วหรือยังดำเนินอยู่ในปัจจุปัน แต่เวลาแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมักมีปัญหาเรื่อง เวลา เพราะบางครั้งกาลต่างกัน แต่แปลเป็นภาษาไทยเหมือนกันจึงทำให้แปลไม่ตรงกับข้อเท็จจริง

ตัวอย่างการแปลที่ถูกต้อง
          Oranges grow in warm climate. ส้มขึ้นในที่ที่มีอากาศอบอุ่น
          He went to the concert last night. เมื่อคืนนี้เขาไปฟังการแสดงดนตรี

          I have been to the exhibit three times. ผมไปชมงานแสดงมาสามครั้งแล้ว  
         Prani had sent us a letter before she left. ปราณีส่งจดหมายถึงเราก่อนที่เธอจะไป
         She has been studying for two hours. เธอดูหนังสือมาสองชั่วโมงแล้ว       
         She will come tomorrow. เธอจะมาพรุ่งนี้                                         
        Tom arrives tomorrow. ทอมจะมาถึงวันพรุ่งนี้
        They are leaving tomorrow. พวกเขาจะไปวันพรุ่งนี้
        He is about to go. เขา(กำลัง)จะไปอยู่แล้ว

แนวเทียบความหมายภาษาไทยคู่กับคำหรือวลีภาษาอังกฤษ
          may. อาจ อาจจะ คง คงจะ
          likely ย่อม ย่อมจะ คล้ายจะ
          just เพิ่ง เพิ่งจะ        
          almost จวน จวนจะ ขยับ แทบ
          tend ชัก ชักจะ เห็นจะ ค่อนข้าง ค่อนข้างจะ
          also พลอย ด้วย
          should ควร ควรจะ น่า น่าจะ


ข้อแนะนำในการแปล
          1. ต้องเข้าใจ " กาล" ว่าเป็นอย่างไร
          2. ตีความก่อนว่า กาลนั้นๆหมายความอย่างไร
          3. ใช้ภาษาไทยอย่างไรให้ได้ความหมายตรงกัน
          4. ถ้าต้องเติม ตัดหรือเปลี่ยนแปลงคำขยายเกี่ยวกับเวลาได้อย่างไร ต้องให้มีละกษณะและสำนวนเป็นไทยโดยเข้าใจตรงกัน หลักการแปล สั้น กระชับ รัดกุม

การใช้ be about to(กำลังจะ) 
                     be about to+ V.inf or V.ที่ไม่ผันรูป    
                เช่น I'm about to go shopping ฉันกำลังจะไปช็อปปิ้ง
               I'm about to have dinner with my dear. ฉันกำลังจะไปกินข้าวกับแฟน


                         i + 1 = Comprehensible Input

          i ย่อมาจาก Input คือ student
          1 คือ Teacher

          *ถ้าครูมีมากกว่า 1 จะทำให้ผู้เรียนพัฒนาช้าหรือไม่พัฒนาเลยเพราะมีช่องว่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น